Q: |
สมาชิก กบข.
สามารถยื่นแบบแสดงความประสงค์ที่จะลาออกจาก กบข.ได้เมื่อไรและที่ไหน |
A: |
- กรณีรับราชการอยู่
ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่
30 กันยายน 2557
ให้ยื่นแบบแสดงความประสงค์ได้ที่ส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ปฏิบัติงานอยู่
ยกเว้น
กรณียืมตัวไปปฏิบัติราชการต่างส่วนราชการให้ยื่นแบบฯได้ที่ส่วนราชการที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการอยู่เดิมก่อนมีการยืมตัว
- กรณีเป็นผู้รับบำนาญ
ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่
30 มิถุนายน 2557 ให้ยื่นแบบแสดงความประสงค์
ได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ ทั้งนี้
หากข้าราชการหรือผู้รับบำนาญที่ได้แสดงความประสงค์ไว้แล้ว
ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557
ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลบังคับ
ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
แบบแสดงความประสงค์ที่ข้าราชการและผู้รับบำนาญยื่นไว้แล้ว
จะมีผลเมื่อใด |
A: |
วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
สมาชิก กบข.
ที่กลับไปเลือกรับบำนาญสูตรเดิมและประสงค์จะลาออกจากราชการ
จะได้รับเงินอะไรจาก กบข. และกรมบัญชีกลาง |
A: |
- ได้รับเงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ถ้ามี) และผลประโยชน์ จาก
กบข.
- ได้รับเงินบำนาญ ตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
จากกรมบัญชีกลาง
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
Q: |
สมาชิกที่ยืนยันจะเป็นสมาชิก กบข. ต่อไป
จะได้รับเงินอะไรจาก กบข. และกรมบัญชีกลาง |
A: |
- ได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ เงินสะสม
เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ถ้ามี) และผลประโยชน์จาก กบข.
- ได้รับเงินบำนาญ ตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539
จากกรมบัญชีกลาง
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
Q: |
ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ได้แสดงความประสงค์ใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม
พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ไว้แล้ว
ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557
การแสดงความประสงค์ดังกล่าวจะมีผลหรือไม่ อย่างไร |
A: |
ตอบ
การแสดงความประสงค์ดังกล่าวนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
และกรณีดังกล่าวยังคงได้รับสิทธิตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ
พ.ศ.2539 ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ได้แสดงความประสงค์ใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม พรบ.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ไว้แล้ว ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1
ตุลาคม 2557 การแสดงความประสงค์ดังกล่าวจะมีผลหรือไม่ อย่างไร |
A: |
การแสดงความประสงค์ดังกล่าวนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
และกรณีผู้รับบำนาญได้คืนเงินให้กับทางราชการแล้ว
กรมบัญชีกลางจะคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของผู้รับบำนาญต่อไปข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม
พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
จะได้รับเงินหรือจะต้องคืนเงินอะไรบ้าง |
A: |
จะได้รับการคำนวณบำนาญใหม่โดยนำบำนาญตามสูตร
พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาหักกลบลบกันกับบำนาญตามสูตร
พรบ.กองทุนฯ พ.ศ.2539
แล้วนำบำนาญส่วนที่เพิ่มขึ้นมาหักกลบลบกันกับเงินก้อนที่ได้รับไปจาก
กบข. (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว)
หากบำนาญส่วนที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าเงินก้อนฯ (เงินจาก กบข.)
ผู้รับบำนาญก็จะได้รับเงินซึ่งเป็นผลต่างของเงินดังกล่าวจากทางราชการ
แต่หากบำนาญส่วนที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าเงินก้อนฯ (เงินจาก กบข.)
ผู้รับบำนาญจะต้องนำเงินซึ่งเป็นผลต่างของเงินดังกล่าวมาคืนให้แก่ทางราชการ
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม
พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
จะขอส่งเงินคืนแก่ทางราชการด้วยวิธีการผ่อนเป็นงวดๆ ได้หรือไม่ |
A: |
ไม่สามารถดำเนินการได้ ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก
กบข.โดยสมัครใจที่ได้แสดงความประสงค์ใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม พรบ.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ไว้แล้ว
และต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ เช่น ลาออก ให้ออก ปลดออก หรือ
ไล่ออก ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557
จะต้องแสดงความประสงค์ภายในระยะเวลาใดและจะถือว่าสมาชิกภาพของข้าราชการผู้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใด
และจะรับบำนาญตามกฎหมายใด |
A: |
ข้าราชการดังกล่าว
ต้องแสดงความประสงค์ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันก่อนวันที่ออกจากราชการและจะสิ้นสุดสมาชิกภาพตั้งแต่วันทีออกจากราชการและจะได้รับบำนาญตาม
พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ตามที่แสดงความประสงค์ไว้แล้ว
โดยจะได้รับเงินบำนาญตังแต่วันที่ออกจากราชการเป็นต้นไป ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ได้แสดงความประสงค์ใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม พรบ.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ไว้แล้ว
เมื่อหนังสือแสดงความประสงค์มีผลใช้บังคับจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
(ช.ค.บ.) เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร |
A: |
ผู้รับบำนาญจะได้รับการคำนวณ ช.ค.บ. ใหม่
และหากได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นกรมบัญชีกลางก็จะจ่ายเงิน ช.ค.บ.
ให้โดยเร็วต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
โดยสมัครใจที่ได้แสดงความประสงค์ใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม พรบ.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ไว้แล้ว
เมื่อหนังสือแสดงความประสงค์มีผลใช้บังคับจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพ
เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร |
A: |
ผู้รับบำนาญจะได้รับบำเหน็จดำรงชีพเพิ่มขึ้น
(เนื่องจากบำนาญตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
จะสูงกว่าบำนาญตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
โดยผู้รับบำนาญต้องยื่นขอรับบำเหน็จดำรงชีพส่วนเพิ่มดังกล่าวข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ผู้รับบำนาญซึ่งเคยเป็นสมาชิก กบข.
ได้ใช้สิทธินำบำเหน็จตกทอดไปค้ำประกันการกู้เงิน
หากใช้สิทธิเลือกรับบำนาญตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
จะใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดต่อไปได้หรือไม่ |
A: |
สามารถใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดต่อไปได้ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่
27 มีนาคม 2540 และไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก กบข.
จะสามารถสมัครเป็นสมาชิก กบข.ใหม่ได้หรือไม่ |
A: |
สามารถสมัครเป็นสมาชิก กบข.ใหม่ได้ (Redo)
โดยดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
ข้าราชการที่ประสงค์เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
แต่ไม่ลาออกจากการเป็นสมาชิก กบข. จะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญหรือไม่ |
A: |
ไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ
แต่จะได้รับบำนาญภายหลังเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุราชการ ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.
เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและลาออกจากสมาชิก
กบข. จะได้รับเงินบำนาญหรือไม่และยังไม่ขอรับเงินคืนจาก กบข.
ทำได้หรือไม่ |
A: |
ข้าราชการจะได้รับเงินบำนาญ ส่วนเงิน กบข.
ข้าราชการสามารถฝากให้ กบข. บริหารต่อได้ โดยที่ไม่ต้องส่งเงินสะสม
และมหาวิทยาลัยไม่ต้องส่งเงินสมทบ และสามารถติดต่อขอรับเงินคืนจาก
กบข. ได้ภายหลัง ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ข้าราชการเป็นสมาชิก กบข.
เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและยังคงเป็นสมาชิก
กบข. จะต้องถูกหักเงินอย่างไร |
A: |
สมาชิกจะถูกหักเงินสะสม
ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด และมหาวิทยาลัยส่งเงินสมทบในอัตรา
3% ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
Q: |
ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.
เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและยังคงเป็นสมาชิก
กบข.
เมื่อลาออกจากราชการหรือเกษียณอายุจะนับอายุราชการอย่างไรและใช้อัตราเงินเดือนฐานใดในการคำนวณบำนาญ |
A: |
การนับอายุราชการจะนับ 2 ช่วงต่อกัน คือ
-
นับตั้งแต่วันเข้ารับราชการจนถึงวันที่ก่อนเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
-
นับอายุราชการตั้งแต่วันที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจนถึงวันที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ
โดยใช้อัตราเงินเดือนที่กระทรวงการคลังกำหนดในการเทียบเคียงสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ข้อมูลเพิ่มเติม
|